พาไปรู้จัก Meeting Manifesto ของ dtac เทคนิคลดการเบิร์นเอาท์จากการประชุมแม้ผ่านออนไลน์

วันนี้ CareerVisa ขอพาไปดูเทคนิคการลด Meeting Burnout ด้วยการกำหนด “Meeting Manifesto” แบบ dtac กัน!

ทำงานที่บ้านมาสักพักจนรู้สึกเหนื่อยกับการเป็นมนุษย์เงินเดือนที่เดี๋ยวนี้แข่งกันประชุมจนบางคนมีมากถึง 5 ประชุมต่อวันกันแล้วด้วยซ้ำ ช่วงนี้เริ่มกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่ก็ยังเจอเรื่องเดิมๆ เปิดหน้าจอมาก็เห็นข้อความแจ้งประชุมและยิ่งอ่านรายละเอียดยิ่งรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเข้าประชุมก็ได้ กลายเป็น FYI Participant งานที่คิดว่าจะเสร็จทัน Deadline ก็ดีเลย์ Work ไร้ Balance และเข้าสู่โหมด Meeting Burnout อย่างสมบูรณ์แบบ

dtac มีไอเดียการกำหนด Meeting Manifesto ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประชุมในยุค Virtual Meeting ให้กับมนุษย์เงินเดือนแบบเราๆ ให้ไม่ต้องเสียเวลาในการประชุมไปอย่างเปล่าประโยชน์ ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และลดการเบิร์นเอาท์จากการทำงานไปในตัวอีกด้วย

Meeting Manifesto คืออะไร?

แปลตามตรงว่า คำแถลงอุดมการณ์ในการประชุม หรือพูดง่ายๆก็คือ แนวทางจัดประชุมของที่นี่ที่พนักงานทุกคนจะใช้ร่วมกัน เป็นเทคนิคการประชุมที่บริษัทกำหนดให้พนักงาน เพื่อช่วยให้การประชุมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และลดความเหนื่อยล้าลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ภาวะหมดไฟสนการทำงานได้

Meeting Manifesto ของ dtac มีอะไรบ้าง?

1. Think of meeting necessity – ประชุมไหนที่ไม่สำคัญให้ส่งอีเมลหรือโทรคุยกันแทน

2. Have a clear agenda – ก่อนนัดประชุมต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อแจ้งให้ทราบ หรือขอความคิดเห็น

3. Only relevant participant – นัดเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่เกิน 8 คน ยกเว้นกรณีประชุมทีม

4. Come prepared – เตรียมตัวก่อนเข้าเริ่มประชุม 24 ชั่วโมง และทำความเข้าใจกับข้อมูลล่วงหน้าก่อนเข้าประชุม

5. Be concise and on time – ตั้งเวลาประชุม 25 หรือ 45 นาที และสแตนด์บายก่อนเวลา 1 นาที

6. Follow up action – บันทึกข้อตกลงแล้วส่งให้ผู้เข้าร่วมประชุมภายในวันรุ่งขึ้น

7. No Friday afternoon meeting – งดประชุมบ่ายวันศุกร์ เพื่อให้เรามีเวลาเคลียร์งานของตัวเอง

8. Avoid lunch and late meeting – ไม่นัดประชุมช่วงพักเที่ยงและหลัง 18.30 น.

เป็นอย่างไรบ้าง? ถ้าเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานทุกคนเข้าใจตรงกันแบบนี้บ้างก็คงดีไม่น้อย เพราะทั้ง 8 ข้อนี้ไม่เพียงช่วยหยุดภาวะหมดไฟได้เท่านั้น แต่ยังช่วยเติมเต็ม work-life balance ในทุก ๆวันอีกด้วย หวังว่าทุกคนคงจะได้เทคนิคจากดีแทคลองไปปรับใช้ในการประชุมกับทีมงานกันดูบ้าง จะได้เป็น “Happy Workplace” ให้พนักงานของเราทุกคนมีชีวิตการทำงานที่ดีทั้งกายและใจอยู่เสมอแบบ dtac นี่ไงล่ะ

ดูบรรยากาศในการทำงานและนโยบายในการดูแลพนักงานของดีแทคเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/dtaccareers

Author

  • รวบรวมและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการพัฒนานอกกรอบของคนทำงาน

Related   Articles

Bystander Effect
Bystander Effect : สาเหตุที่พนักงานมีความลับแล้วไม่บอกบริษัท
ที่มาของ “ไทยมุง” มัวแต่ยืนดู…แต่ไม่มีใครช่วยสาเหตุที่บริษัทเปลี่ยนแปลงยาก แม้ทุกคนจะรู้หน้าที่พนักงานทุกคนรู้ปัญหาดี แต่ทำไมไม่มีใครพูดเปิดประเด็น?เหตุการณ์น่าเป็นห่วงเหล่านี้มีสาเหตุทางจิตวิทยาเหมือนกันที่เรียกว่า...
Scout Mindset
Scout Mindset : เข้าใจปัญหาด้วยการเฝ้ามองอยู่เงียบ ๆ ห่าง ๆ
เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้บริหารบางคนถึงมองปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง “อ่านเกมขาด” ทั้งๆ ที่ดูก็ไม่ได้มีความสามารถเลิศเลอเหนือไปกว่าใคร? แม้ผู้บริหารท่านนั้นไม่ได้มีทักษะพิเศษ...
การประเมินผลการทำงาน
เตรียมตัวให้พร้อม : เคล็ดลับรับมือการประเมินผลการทำงานช่วงสิ้นปีอย่างมืออาชีพ
การประเมินผลการทำงาน คืออะไร?การประเมินผลการทำงาน คือกระบวนการประเมินผลงานของพนักงานอย่างเป็นทางการ โดยจะมีเกณฑ์ตรงกลางที่บริษัทตั้งไว้ และพนักงานจะถูกประเมินโดยหัวหน้างานหรือคนที่เกี่ยวข้องกับตัวเองในการทำงาน...